จันทรุปราคา คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์ โลก
และดวงจันทร์เรียงอยู่ในแนวระนาบเดียวกันพอดี
จันทรุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในคืนวันเพ็ญ 15 คู่
หรือคืนวันพระจันทร์เต็มดวง
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาแม้จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ก็มีอิทธิพลต่อความคิดและความเชื่อในหลายวัฒนธรรมมาช้านานรวมทั้งของไทยด้วย
ซึ่งลักษณะของจันทรุปราคาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์ที่เคลื่อนที่ผ่านเงาของโลกในเวลานั้นๆ
อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์จันทรุปราคาไม่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเดือน
เนื่องจากระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์และระนาบที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน
แต่วงโคจรจะทำมุมกัน 5องศา
ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดจันทรุปราคา
จึงมีเพียงประมาณปีละ 1-2 ครั้ง โดยที่สามารถมองเห็นจากประเทศไทยเพียงปีละครั้ง
การเรียกจันทรุปราคาสามารถเรียกได้หลายอย่าง เช่น
จันทรคราส,
จันทรคาธ, ราหูอมจันทร์
และกบกินเดือน
เงาโลก
โลกเป็นดาวเคราะห์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
หากแต่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ด้านที่หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์เป็นเวลากลางวัน
ส่วนด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เป็นเวลากลางคืน
โลกบังแสงอาทิตย์ทำให้เกิดเงา 2ชนิด คือ เงามืด
และเงามัว
เงามืด
(Umbra)
เป็นเงาที่มืดที่สุด เนื่องจากโลกบังดวงอาทิตย์จนหมดสิ้น
หากเราเข้าไปอยู่ในเขตเงามืด จะไม่สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้เลย
เงามัว
(Penumbra)
เป็นเงาที่ไม่มืดสนิท เนื่องจากโลกบังดวงอาทิตย์เพียงด้านเดียว
หากเราเข้าไปเขตเงามัว เราจะมองเห็นบางส่วนของดวงอาทิตย์โผล่พ้นส่วนโค้งของโลก
เงาที่เกิดขึ้นจึงไม่มืดนัก
จันทรุปราคาเกิดขึ้นเฉพาะในคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวง โดยที่ดวงอาทิตย์ โลก
และดวงจันทร์เรียงตัวเป็นเส้นตรง
ผู้สังเกตการณ์ในซีกโลกกลางคืนสามารถมองเห็นปรากฏการณ์ทั้งหมดได้นานประมาณ 3 ชั่วโมง แต่จะเห็นดวงจันทร์อยู่ในเงามืดได้นานที่สุดไม่เกิด 1 ชั่วโมง 42 วินาที เนื่องจากเงามืดของโลกมีขนาดเล็ก
ดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืดด้วยความเร็ว 1 กิโลเมตรต่อวินาที
ประเภทของจันทรุปราคา มี 3 ประเภท
1. จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงเข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก บางครั้งจะเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดง หรือที่เรียกว่า “พระจันทร์สีเลือด” การที่เรามองเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงมีสีดังสีเลือด เนื่องมาจากโลกมีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่ เมื่อเงาดำของโลกทอดไปทับดวงจันทร์
ชั้นบรรยากาศบางส่วนที่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์จะสะท้อนแสงไปยังเงาดำนั้นบ้าง จึงทำให้เกิดแสงสลัว ๆ ปรากฏขึ้น
2. จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อบางส่วนของดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามัวและเงามืดของโลก
3. จันทรุปราคาเงามัว (Penumbra
Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามัวของโลก
โดยมิได้เคลื่อนที่เข้าไปในเงามืดแม้แต่น้อย ดวงจันทร์จึงยังคงมองเห็นเต็มดวงอยู่ แต่ความสว่างลดน้อยลงสีของดวงจันทร์ออกส้มแดง จันทรุปราคาชนิดนี้หาโอกาสดูได้ยาก เพราะโดยทั่วไปดวงจันทร์มักจะผ่านเข้าไปในเงามืดด้วย
ลักษณะของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง
เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่ได้หายไปจนมืดทั้งดวง แต่จะเห็นเป็นสีแดงอิฐ เนื่องจากมีการหักเหของแสงอาทิตย์เมื่อส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลก
สีของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้
ระดับ 0
ดวงจันทร์มืดจนแทบมองไม่เห็น
ระดับที่ 1 ดวงจันทร์มืด
เห็นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแต่มองไม่เห็นรายละเอียดลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์
ระดับที่ 2
ดวงจันทร์มีสีแดงเข้มบริเวณด้านในของเงามืด และมีสีเหลืองสว่างบริเวณด้านนอกของเงามืด
ระดับที่ 3 ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐและมีสีเหลืองสว่างบริเวณขอบของเงามืด
ระดับที่ 4
ดวงจันทร์สว่างสีทองแดงหรือสีส้มด้านขอบของเงาสว่างมาก
ควรมีแหล่งอ้างอิงด้วยนะคะ และจากการพิจารณาเนื้อหา น่าจะแบ่งเมนูย่อยได้อีก
ตอบลบ